วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประกาศผลการทดสอบวิทย์ คณิต ช่วงชั้นที่ 2

สอบเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2553  ณ สนามสอบโรงเรียนหนองพอกพัฒนาประชานุสรณ์  อีกไม่เกิน 1 สัปดาห์ โปรดติดตามตอนต่อไป...

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การใช้เตาไมโครเวฟ


คลื่นไมโครเวฟที่ใช้ในการปรุงอาหาร คือคลื่นชนิดใด
คลื่น ไมโครเวฟ (microwave) ที่ใช้ปรุงอาหารคือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเหมือนคลื่นวิทยุ คลื่นโทรทัศน์ คลื่นแสงอินฟราเรด (infrared) คลื่นแสงธรรมดา แสงอัลตราไวโอเลต (ultraviolet) คลื่นรังสีเอกซ์ และ คลื่นรังสีแกมมา
คลื่นไมโครเวฟทำให้อาหารสุกได้อย่างไร
คลื่นไมโครเวฟที่ใช้ปรุงอาหารจะมีความถี่คลื่น 2,450 ล้านรอบต่อวินาที (หรือ 2,150 เมกะเฮิรตซ์) เมื่อคลื่นพุ่งไปกระทบอาหารจะถ่ายทอดพลังงานของมันให้โมเลกุลของน้ำทั้งใน และนอกอาหารเกิดการ สั่นสะเทือนเสียดสีกันเป็นความร้อน จึงทำให้อาหารสุกอย่างรวดเร็ว
เมื่อคลื่นไมโครเวฟมอบพลังงานให้อณูของน้ำหมดแล้ว มันก็จะสลายตัวไป ไม่สะสมอยู่ในอาหารอีก
ในทางการแพทย์มีการนำคลื่นชนิดนี้มาใช้ในการรักษาบ้างหรือไม่
ทางการแพทย์นำคลื่นไมโครเวฟมาใช้ในการรักษาบ้างเหมือนกัน แต่เป็นคลื่นไมโครเวฟที่มีความถี่คลื่นน้อยกว่าไมโครเวฟที่ใช้ปรุงอาหาร เพราะต้องการเพียงความร้อนขนาดอุ่นๆ สบายๆ หรือความร้อนสูงขึ้นอีกเล็กน้อยขนาดพอทนได้ เช่น ทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูใช้ไมโครเวฟความถี่ต่ำเพื่อใช้คลายอาการปวดกล้ามเนื้อ หรือปวด ตามข้อซึ่งมีความร้อนขนาดอุ่นๆ กำลังสบายๆ
ทางด้านรังสีรักษาและ ระบบทางเดิน ปัสสาวะใช้ไมโครเวฟความถี่สูงขึ้นกว่าทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู ให้ความร้อนสูงขึ้นแต่ไม่ถึงจุดเดือด ใช้รักษาทำลายเซลล์มะเร็งเฉพาะที่ตื้นๆ ร่วมกับการรักษาด้วยรังสีและยารักษามะเร็ง เครื่องเดียวกันนี้ยังสามารถใช้รักษาโรคต่อมลูกหมากโตในชายผู้สูงอายุบางราย ได้ด้วย
 คลื่นที่ใช้ในไมโครเวฟมีอันตรายหรือไม่
คลื่น ไมโครเวฟที่ใช้ในการปรุงอาหารไม่มีอันตรายต่อสุขภาพ เพราะคลื่นจะสลายตัวไปไม่สะสมในอาหาร เมื่อกินอาหารที่ทำให้สุกด้วยไมโครเวฟจึงไม่เกิดอันตรายใดๆทั้งสิ้น
การจ้องมองแสงในขณะที่เครื่องกำลังทำงานมีอันตรายต่อดวงตาจริงหรือไม่
ไม่จริง เพราะคลื่นไมโครเวฟไม่สามารถจะทะลุทะลวงผ่านผนังตู้และฝาตู้ออกมาได้ และแสงที่เรามองเห็นในตู้ไม่ใช่แสงของคลื่นไมโครเวฟ แต่เป็นแสงของดวงไฟฟ้าที่ติดตั้งไว้ให้เห็นสิ่งที่อยู่ภายในตู้ขณะเครื่องทำ งานเท่านั้นเอง
อาหารที่ผ่านการปรุงด้วยไมโครเวฟจะมีรังสีตกค้างหรือปะปนมาในอาหารหรือไม่
ไม่มี เพราะรังสีเป็นคลื่นพุ่งผ่านแล้วมอบพลังงานของมันให้กับสิ่งที่มันพุ่งผ่านไป เมื่อพลังงานของมันหมดมันก็สลายตัวไป

ข้อควรระวังในการใช้เครื่องไมโครเวฟ
1. เลือกซื้อเครื่องจากบริษัทที่เชื่อถือได้ มีมาตรฐาน มีการรับรองคุณภาพการผลิต ฝาตู้ต้องปิดได้แน่นสนิท ไม่มีรอยรั่ว
2. ก่อนใช้ต้องอ่านคู่มือการใช้ให้ละเอียด ทำให้ถูกต้องตามขั้นตอน
3. ไม่ควรวางของหนักหรือเหนี่ยว โหนประตูตู้ในขณะที่ประตูเปิดอยู่ เพราะจะทำให้ฝาตู้ปิดไม่สนิท มีคลื่นไมโครเวฟรั่วออกมาได้ระหว่างใช้
4. เมื่อตู้ชำรุด ไม่ควรแก้ไขเอง ควรติดต่อช่างที่ชำนาญมาแก้ไข
5. ไม่ควรใช้ดวงตาแนบกับฝาตู้ขณะเครื่องทำงาน เพื่อความไม่ประมาท
6. ควรติดตั้งเครื่องให้ห่างจากผนังด้านหลัง ด้านข้างไม่น้อยกว่า เซนติเมตร และให้ห่างจากโทรทัศน์และวิทยุให้มากที่สุด
7. การจะวัดว่ามีคลื่นไมโครเวฟรั่วไหลออกมาจากเครื่อง ทำได้โดยใช้เครื่อง Survey Meter ซึ่งสามารถติดต่อกับเจ้าหน้าที่กองรังสีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข หรือบริษัทใหญ่ๆ ที่ขายเครื่องไมโครเวฟ จะมีบริการการวัดคลื่นไมโครเวฟที่รั่วออกมาให้ได้
อายุการใช้งานของเครื่องและการดูแลมีส่วนสำคัญในเรื่องของความปลอดภัยอย่างไร
อายุการใช้งานของเครื่องขึ้นอยู่กับการใช้งานและวัสดุโครงสร้างของเครื่อง เมื่อใช้ตู้ไปแล้วต้องเช็ดทำความสะอาดตู้สม่ำเสมอ อย่าปล่อยให้เศษอาหารกระเด็นค้างอยู่ในตู้เป็นระยะเวลานานๆ เพราะความเค็มของอาหารจะทำให้เหล็กตู้เป็นสนิมจนเกิดรอยทะลุ และห้ามใช้ของมีคมขูดหรือขัดตู้
ข้อแนะนำทั่วไปสำหรับการใช้ไมโครเวฟที่ถูกต้องและปลอดภัย
1. เลือกภาชนะที่ใช้กับตู้ไมโครเวฟให้เหมาะสม เช่น ชามแก้วทนไฟ ชามกระเบื้อง พลาสติกทนความร้อน ภาชนะไม้ จานกระดาษ ห้ามใช้ภาชนะโลหะทุกชนิดกับตู้ไมโครเวฟ หรือภาชนะกระเบื้องที่มีขอบสีเงินขอบสีทอง
2. ควรใช้ฝาชีพลาสติกทนความร้อนครอบอาหาร (ในลักษณะไม่ต้องปิดฝาแน่น) เสียก่อนเริ่มเปิดใช้เครื่องไมโครเวฟ เพื่อไม่ให้คราบอาหารกระเด็นไปติดตู้ จะได้ไม่ต้องเสียเวลาในการทำความสะอาดตู้
3. ไม่ควรนำอาหารที่มีผิวมันหรือมีเปลือกแข็งเข้าไปทำให้สุกในตู้ เพราะความร้อนทำให้อากาศภายในอาหารขยายตัว ประกอบกับไอน้ำที่เกิดขึ้นมีแรงดันสูง จะทำให้เกิดระเบิดเสียงดังได้ ควรใช้ส้อมจิ้มผิวอาหารหรือเปลือกอาหารให้เป็นรูเสียก่อน เพื่อป้องกันการปะทุที่เกิดจากความร้อนภายในอาหารขยายตัว
4. หมั่นทำความสะอาดภายในเครื่อง

ตู้ไมโครเวฟถ้ารู้จักใช้ให้ถูกวิธีจะมีประโยชน์มาก เพราะสะดวกรวดเร็ว ประหยัด เหมาะสำหรับชีวิตปัจจุบันซึ่งต้องเร่งรีบไปหมดทุกอย่าง ที่สำคัญอย่าลืมซื้อเครื่องที่มีมาตรฐาน มีการรับรองคุณภาพ อ่านคู่มือก่อนใช้ และเลือกภาชนะที่ใช้ให้เหมาะสม หากเครื่องดีไม่มีรอยรั่ว อันตรายจากไมโครเวฟจะไม่เกิดขึ้นเลย

แน่ใจหรือ... ว่าใช้ไมโครเวฟถูกวิธี
ไมโครเวฟ
ไมโครเวฟ

แน่ใจหรือว่าใช้ไมโครเวฟเป็น (Lisa)
          ปัจจุบันไมโครเวฟได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แต่ถ้าใช้ไม่เป็นก็เกิดอันตรายได้ คุณจึงควรรู้จักใช้ให้ถูกวิธี

เคล็ดลับในการใช้และดูแลเครื่องไมโครเวฟ
         
- วางเตาไมโครเวฟให้อยู่ในระดับหน้าอกของผู้ที่จะใช้งานที่มีความสูงน้อยที่สุด
          - ไม่ควรตั้งเตาไมโครเวฟเหนือเตาหุงต้ม เพราะเหนือเตาหุงต้มจะมีความร้อน ไขมัน และไอน้ำ จากการประกอบอาหาร ไอเหล่านี้จะไปจับที่เตาไมโครเวฟ ทำให้เตาไมโครเวฟมีอุณหภูมิสูงอยู่เสมอ
          - ภาชนะใส่อาหารที่นำเข้าเครื่องต้องเหมาะสมทั้งที่เป็นแก้ว กระเบื้อง หรือพลาสติกต้องใช้แบบทนไฟ ห้ามนำกระดาษทุกชนิดเข้าเครื่อง หลีกเลี่ยงภาชนะที่มีขอบสีเงิน ขอบทอง และภาชนะที่ทำจาก           สแตนเลส หรือเหล็กแววแสง เช่น ช้อน มีด สำหรับภาชนะที่มีฝาปิดแน่น เช่น ขวด ไม่ควรนำมาใช้กับเตาไมโครเวฟ

         - เวลาคลื่นไมโครเวฟทำงานอาจทำให้คราบอาหารกระเด็นไปติดตู้ ควรใช้ฝาครอบอาหารพลาสติกที่ทนความร้อนครอบอาหารไว้
         - อาหารที่มีเปลือกแข็ง หรือมีผิวห่อหุ้ม ควรใช้ของแหลมจิ้มให้เป็นรูก่อน เพื่อป้องกันความร้อนขยายตัว ที่อาจทำให้อาหารปะทุได้
         - อย่าปล่อยให้เศษอาหารค้างในเครื่องนานๆ เพราะความเค็มจะทำให้เกิดปฏิกิริยากับเหล็กจนเป็นสนิม และทำให้ผนังเครื่องเป็นรูเวลาทำความสะอาดห้ามใช้ของมีคมขูด หรือขีดบริเวณผนังตู้ให้เป็นรอยเป็นอันขาด
         - ไม่ควรน้ำของหนักๆ วางบนเครื่อง และควรติดตั้งเครื่องให้ห่างจากฝาผนังอย่างน้อย 5 ซม. และต้องตั้งให้ห่างจากโทรทัศน์และวิทยุให้มากที่สุด
         - อย่าพยายามใช้น้ำหรือเครื่องดับเพลิงดับเปลวไฟที่เกิดขึ้นในเตาไมโครเวฟ ให้ปิดตู้แล้วปลดปลั๊กไฟออก ปล่อยให้ไฟดับเอง แล้วค่อยเปิดประตูเตา
         - การละลายอาหารแช่แข็งในเตาไมโครเวฟ ขณะที่กำลังใช้โปรแกรมทำละลายน้ำแข็งควรมีการพลิกหรือกลับอาหารเป็นครั้ง คราว เพื่อไม่ให้มีจุดอับในการทำละลาย
         - ไม่ควรเปิดเครื่องทำงานขณะที่ประตูเตาเปิดอยู่ หรือไม่มีสิ่งใดอยู่ในเตา
         - ไม่ควรเก็บเตาไมโครเวฟนอกตัวอาคารหรือที่แจ้ง และไม่ควรใช้ใกล้บริเวณที่เปียกน้ำ